เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[711] 1. ปรามาสสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะ
นั้น ราคะที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นปรามาส-
สัมปยุตตธรรม เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม
ย่อมเกิดขึ้น.
2. ปรามาสสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปรามาสสัมป-
ยุตตธรรม พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาล
ก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ แล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
ขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปรามาสวิปปยุตตธรรม วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นปรามาสสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.